วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานสัปดาห์ที่ 10-11

อาจารย์แชร์ไฟล์เอกสารรายงานสรุปผลการดำเนินงานออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ระยะ ที่ 1 ของ บจก.ACT ให้ผู้ที่เรียนarti3314 ไว้ในกูเกิ้ลไดรฟ์ที่แชร์ให้แต่ละกลุ่มแล้ว .ให้ทุกคนที่ยังมีสิทธิ์เรียนต่อ ศึกษาข้อมูลและความต้องการงานออกแบบ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบผลงานให้ตอบโจทย์จริงตามผลิตภัณฑ์ที่เลือกทำโครงการ ออกแบบส่วนบุคคลที่จะทำต่อ โดยให้อ้างอิงใช้เอกสารให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อตอบคำถามว่าได้ออกแบบตอบโจทย์จริงตามข้อมูลจริงในประเด็นใดบ้าง ทำงานให้เสร็จหรือให้ได้มากที่สุดแล้วนำเสนอในชั่วโมงเรียนครั้งคราวหน้า

ข้อมูล และไฟล์ vector ก็แชร์ให้แล้ว อย่างน้อยคราวหน้า ต้องเอาไฟล์อาร์ตเวิร์คและพิมพ์ออกมาเสนอเป็นรายบุคคล เรียงลำดับรายชื่อ เรียกแล้วไม่มีก็จัดให้...เตือนแล้วนะครับว่า ความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา สำคัญที่สุด คราวที่แล้วคงทราบผลไปแล้วว่า ได้ผลกรรมจากความบกพร่องของตนเองอย่างไรบ้าง

ครั้งหน้าสัปดาห์ที่ 10-11 การตรวจงานโครงการเดี่ยวตามที่แจ้งโจทย์แล้ว โดยต้องมีเอกสารและผลงานประกอบการนำเสนอคือ
 มี Mood board สรุปข้อมูลจากการศึกษาเอกสารรายงาน เพื่อประกอบการนำเสนอ
1. งานเขียนแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ sketchup หรือ  3D ใดๆ
2. แบบกราฟิกอาร์ตเวิรค์เป็นไฟล์ AI หรือ PSD ที่มีข้อมูลรายละเอียดสินค้า ภาพประกอบ กราฟิกอย่างครบถ้วน ตามแนวคิดที่ร่างแบบในMood Board ไม่ใช่มีแต่โลโก้ลอยๆที่ไม่ได้คิดสร้างสรรค์หรือออกแบบจัดหน้า
3.มี Mockup / Model โดยควรมีแบบทางเลือกอย่างน้อย 3 แบบ

ตัวอย่างการเขียนรายงาน

ตัวอย่างการเขียนรานงาน-อธิบายเพื่อการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ โดยวิธี Visual Study
(ภาพ)
ภาพที่ 2. แสดงโครงสร้างและส่วนประกอบทางกราฟิกของผลิตภัณฑ์สินค้ายี่ห้อ ยอดรส
ที่มา ชานนท์ เกษมวรรณกร ,2555

ส่วนประกอบด้านหน้า(Front)
บรรจุ ภัณฑ์ซองฟอยล์ธรรมดาสีเงิน รีด 3 ข้าง ขนาดกว้าง..x...นิ้ว และสติ๊กเกอร์ พิมพ์ข้อมูล และตราสินค้าขนาด......x......นิ้ว 1 แผ่น...
ขยายข้อความนี้ »

กิจกรรมการเรียนรู้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

จกรรมการเรียนแบบยึดผู้เรียนเป็น สำคัญ ในรายวิชา ARTI3314 ของกลุ่ม101 ด้วยการมอบหมายให้เรียนรู้เองตามโจทย์ที่ตั้งกรอบให้ ภายใต้เงื่อนไขการสร้างสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมและตัวอย่างจริงทางการสร้างสรรค์ผลงานในวิชาชีพศิลปกรรมออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ระยะเวลา 6 สัปดาห์  โดยให้ทำงานเป็นกลุ่มๆละ 4 คน ให้ได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกความรับผิดชอบ การจัดเก็บ แสดง ค้นคืนและแบ่งปันข้อมูลร่วมกันด้วยระบบและการบริหารจัดการเครื่องมือประเภท Free Online Cloud Computing/Tools/Management ของ Google Apps การศึกษากรณีตัวอย่างศึกษาผลงาน ตามกระบวนการออกแบบอย่างเป็นระบบ และในสัปดาห์สุดท้ายให้ส่งผลงานของกลุ่ม โดยให้นำเสนอผลงานออกแบบที่เป็นแนวคิดและรูปแบบงานที่แตกต่างของแต่ละคน โดยจัดเป็นงาน Mini Exhibition หน้าชั้นเรียนเพื่อนำเสนอต่อผู้สอน

ผล การเรียนเพียง 8 สัปดาห์ ก็คือ กลุ่มนี้มีผู้ลงทะเบียนเรียนเต็ม 45 คน เดิมกำหนดผู้ลงทะเบียนไว้เพียง 35 คน เหลือจำนวนผู้เรียนที่มีสิทธิ์สอบและเข้าสอบวันนี้ เพียง 12 คน ผลงานที่จัดแสดงไม่มีคุณภาพและจำนวนเพียงพอต่อการให้นำเสนอผลงานทั้ง 8 กลุ่ม มาเสนอเพียง 2 กลุ่ม สรุปผลการทำงานออกแบบกลุ่มคือ ตกทั้งชั้น และเมื่อสอบกลางภาคเรียนก็ยังมีตก อีก 3 คน

สรุปคือ กรรมได้กำหนดคุณค่าและคุณภาพแห่งตนเองของนักศึกษาแล้ว หลังสอบกลางภาค อาจารย์คงต้องเหนื่อยอีกเยอะ แต่ต่อนี้ก็พัฒนางานต่อภายใต้การดูแลที่เข้มงวดขึ้น เพราะหากเป็นเช่นนี้ นักศึกษาจบไปก็ยังทำงานจริงไม่ได้ ใครพร้อมสู้ต่อ ก็จักต้องปรับปรุงตัวเองและตั้งสติใหม่ให้ดีและเปิดใจรับสู่กระบวนการทำงาน ที่เข้มงวด ใ้เริ่มคิดงานและพัฒนางานจากโจทย์เดิมนี้ เป็นงานเดี่ยวที่ต้องรู้ว่าการที่จะเข้าสู่วงการวิชาชีพนักออกแบบจริงได้ นั้น ต้องรู้จักการลงทุนในทุกๆเรื่องอย่างไรบ้าง รู้ตัวและรู้คะแนนสอบแล้วก็ปรับแก้ไขงาน ทำงาน ศึกษางานเพิ่มเติมว่าจะต้องสร้างสรรค์ด้วยจำนวนและคุณภาพเยี่ยงใด จึงจะสอบผ่านวิชานี้ไปได้

หากนักศึกษายังคิดว่าการมาเรียนวิชานี้คือการพาสังขารตนเองเข้าห้อง อาจารย์คงเมตตาให้พอผ่านไปได้ ....ก็คิดผิดแล้วนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Week 5 : การนำเสนอผลการศึกษาวิเคระห์ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบรรจุภัณฑ์เบื้องต้น





ในสัปดาห์ที่ 5 นี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตามกระบวนการเรียนรู้แบบวิธีการเรียนรู้จากปัญหา(Problem Based Learning / Work Based Learning) หรือการทำงานจริงในสถานการณ์ที่เป็นจริง จากการที่ผู้สอนเป็นหัวหน้าทีมวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์โอทอป จังหวัดกาญจนบุรี ในนามของ บจก.เอซีที(ไทยแลนด์)โครงการของ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ตามโครงการการส่งเสริมการผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และการบริหารจัดการชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี จัดโดยบริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จำกัด ตามแบบฟอร์มและหัวข้อที่ตั้งให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาและตอบคำถามนำทางคือ 4W2H โดยให้แต่ละกลุ่ม(กลุ่มละ 4 คน แบ่งกลุ่มโดยวิธีการสุ่มตามเลขที่นับจำนวนตามจำนวนกลุ่ม รวมกลุ่มเรียนละ 11 กลุ่ม ภาคนอกเวลา 6 กลุ่ม)
ซึ่งจะได้สมาชิกกลุ่มที่มีทักษะคละกันไป ที่ดำเนินการด้วยวิธีนี้ก็เพราะเห็นว่าผู้เรียนมักมีพฤติกรรมการจับกลุ่มตามความสนิทสนมคุ้นเคยกัน ผู้เรียนบางคนเป็นผู้เรียนที่มาเรียนซ้ำกับรุ่นน้อง และกลุ่มที่เรียนภาคนอกเวลาก็ไม่รู้จักมักคุ้นกันมาก่อน ซึ่งผลจากการสังเกตและปล่อยให้ดำเนินการเอง เรียนรู้เอง มาเป็นระยะเวลา 4สัปดาห์นั้น ไม่มีผลคืบหน้าเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะนักศึกษายังขาดความรับผิดชอบและไม่ศึกษาหาความรู้ ฝึกปฏิบัติตามวิธีดำเนินการ 3ส.: 3R ที่ผู้สอนให้ไปศึกษาจากเนื้อหาในเว็บบล็อกนี่ ดังนั้นนับแต่สัปดาห์ที่ 6 เป็นต้นไป ผู้สอนจะให้และใส่ความเข้มข้นในการตรวจสอบผลการเรียนรู้ ทั่งสั่ง-สอน-ติดตาม ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่วางแผน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และคัดตัวผู้ที่จะรอดออกไป...นะเอง

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 3 สอนการปรับแต่งกูเกิ้ลบล็อก และการใช้ไฟล์ร่วมกันในกูเกิ้ลไดร์ฟ

การปรับแต่งกูเกิ้ลบล็อก


ความมุ่งมั่นในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การแบ่งปันความรู้และภูมิปัญญาของตนเองและของทุกคน คือหัวใจแห่งความสำเร็จของการทำงานและความก้าวหน้าขององค์กร
Everyone's commitment to share their knowledge, create new knowledge and wisdom is the key to success.




ดูวิธีการปรับแต่งทันที คลิกที่นี่










Prachid Tutorials : Google Blogger Theme Customisation. การปรับแต่งหน้ากู้เกิ้ลเว็บบล็อกเกอร์ สอนโดยผศ.ประชิด ทิณบุตร อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

กลุ่ม 3 ชื่อ Dek-D


กลุ่ม Dek-D




สมาชิกกลุ่ม Dek-D


ชื่อ: นาย ณัฐสิทธิ์ วงศ์นิบุญกิจ
รหัส: 5311317175
ตำแหน่ง: หัวหน้ากลุ่ม
หน้าที่:
Email: nuttasit.w.0@gmail.com
Blog: http://nuttasit-arti3314.blogspot.com/





ชื่อ: นาย ณัฐสรัญ สุธากิจมนัส
รหัส: 5311322589
ตำแหน่ง: สมาชิกกลุ่ม
หน้าที่:
Email: nutsarun71@gmail.com
Blog: http://nutsarunos-arti3314.blogspot.com/





ชื่อ: นาย ยุทธนา ศรีนาคช
รหัส: 5311317225
ตำแหน่ง: สมาชิกกลุ่ม
หน้าที่:
Email: yuttana699@gmail.com
Blog:





ชื่อ: นาย ชัชนันท์ ภูครองทอง
รหัส: 5311322506
ตำแหน่ง: สมาชิกกลุ่ม
หน้าที่:
Email: chutchanan2533@gmail.com
Blog: http://chutchanan-arti3314.blogspot.com/








วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Typeface Design Competiton ครั้งที่ 2



ที่มาของโครงการ
ฟอนต์ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้รองรับภาษาไทย จนทำให้เกิดการใช้งานในทุกๆ ส่วนของสังคมอย่างทั่วถึง
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งในระบบเปิด (Open Source Software) และระบบปิด (Commercial Software) ล้วนต้องใช้ฟอนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนใหญ่ มักจะเป็นฟอนต์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows และระบบปฏิบัติการ Mac OSX ซึ่งเป็นฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ มีบางฟอนต์ที่ผู้พัฒนาอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ฟอนต์ที่พัฒนาโดยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และฟอนต์ที่พัฒนาจากโครงการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)
ในส่วนของนักพัฒนาฟอนต์เองก็มีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนโดยตรงในสถาบันการศึกษา นักพัฒนาฟอนต์เหล่านี้จึงต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เอาเองอย่างไร้การ สนับสนุนจากสังคมทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันจะนำไปสู่ปัญหาคุณภาพของฟอนต์ที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย
ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จึงคิดโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่” นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ๆ และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟอนต์ ให้มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาฟอนต์ภาษาไทยอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ โดยจัดครั้งแรกขึ้นในปี 2554 ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
1) วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านอักขระภาษาไทย เพื่อมีแบบตัวพิมพ์ไทยให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หลากหลาย อ่านได้ง่าย สวยงาม และเหมาะกับเนื้อหาของงาน
- ส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่ โดยการสร้างเวทีสำหรับการแข่งขันประชันผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
- ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สำหรับนักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย อันประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักศึกษา นักออกแบบ บริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ ผู้ใช้ เครือข่ายสื่อต่างๆ และทรัพยากรบุคคลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน
2) การดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยผ่านเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบกราฟิก และการใช้ฟอนต์
- นักออกแบบฟอนต์ จะส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ชนิด PDF โดยผ่านทางเว็บไซต์ที่ชมรมฯ เตรียมไว้สำหรับการรับผลงาน ซึ่งมีระบบคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาของผู้ออกแบบฟอนต์เป็นอย่างดี
- ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน
• ผลงานออกแบบฟอนต์ ไม่จำกัดประเภท ได้แก่ ตัวเนื้อความ, ตัวพาดหัว, ตัวแฟนซี ฯลฯ
• ผลงานให้เรียงเป็นข้อความสั้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด บนพื้นที่กระดาษขนาด A3
- คณะกรรมการคัดเลือก ทีึ่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำหน้าที่คัดเลือกผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 20 คน เพื่อรับโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ และผู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ เป็นเวลา 1 วัน
- เผยแพร่ผลงานและข้อมูลของผู้ออกแบบ ผ่านทางเว็บไซต์ของชมรมฯ และเครือข่ายพันธมิตร
3) กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวด 
- นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชา lettering design และ typography
- นักออกแบบกราฟิก และบุคคลทั่วไปที่สนใจการออกแบบตัวพิมพ์
4) แผนการดำเนินงาน
- 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2555
• ติดต่อประสานงานเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ fOnt.com, เครือข่ายใน facebook, ผู้เคยเข้าร่วมกิจกรรมประกวดแบบตัวพิมพ์ของชมรมฯ และของกรมทรัพย์สินทางปัญญา, บริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์, อาจารย์และสถาบันการศึกษาทีเปิดสอนวิชา lettering design และ typography, นิตยสาร iDesign, Computer Art ฯลฯ
• แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผลงาน
- 15 พ.ค. 2555 เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการ
- 15 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2555 รับผลงานผ่านทางเว็บไซต์ www.tepclub.org
-  1-3 ก.ค. 2555 คัดเลือกผลงาน
- 5 ก.ค. 2555 แจ้งผลการคัดเลือกถึงผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ผ่านเกณฑ์ (รวม 50 คน)
- 21 ก.ค. 2555 กิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ (80-100 คน) ประกอบด้วย การสัมมนาวิชาการ กิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายฟอนต์ และการมอบโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ
5) ตัวชี้วัด 
ด้านจำนวนผู้เข้าร่วมและจำนวนผลงาน
- มีผู้ส่งผลงานไม่น้อยกว่า 150 คน จำนวนผลงาน ไม่น้อยกว่า 200 ผลงาน
- มีผลงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ไม่น้อยกว่า 20 ผลงาน
ด้านเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย
- มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 สถาบัน
- ได้รับความสนับสนุนจากบริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์
- ได้รับความสนับสนุนจากสื่อต่างๆ เช่น fOnt.com และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
6) การสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์
6.1) กิจกรรมสัมมนาวิชาการ
- ความรู้เรื่องฟอนต์สำหรับสือใหม่ (เว็บไซต์, eBook)
- ประสบการณ์ในการออกแบบตัวอักษรไทย และละติน (Latin)
- ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสร้างฟอนต์
- การทำตลาดฟอนต์ (ในประเทศและต่างประเทศ)
- ความเห็นเรื่องฟอนต์จากฝั่งนักออกแบบกราฟิก (ผู้ใช้ฟอนต์)
6.2) กิจกรรมสร้างเครือข่าย
-  จับคู่นักออกแบบและบริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์
-  แนะนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ – fOnt.com และ facebook และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
-  สร้างการมีส่วนร่วมของ resource persons ในเครือข่ายฟอนต์ โดยการเป็นวิทยากร การเป็นพี่เลี้ยงให้นักออกแบบรุ่นใหม่

ดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ

ดาวน์โหลดใบส่งผลงาน